
อาหารเป็นพิษ ปัญหาสุขภาพในช่วงฤดูร้อน
อาหารเป็นพิษจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน
อุณหภูมิสูง ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี
ซึ่งหากเรารับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียก็จะทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง
คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ รวมไปถึงอาการลำไส้อักเสบในบางรายได้
และอาจมีอาการปวดเมื่อยร่างกายร่วมด้วย ในช่วงฤดูร้อนจึงควรระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร
โดยเฉพาะอาหารที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษเช่น
อาหารทะเลปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ หรือไม่ผ่านการปรุงให้สุก อาหารที่มีการบีบมะนาว
สีของเนื้อสัตว์ที่เปลี่ยนไปเพราะน้ำมะนาว ไม่ได้แปลว่าอาหารนั้นสุกจริง
อาหารประเภทปรุงเสร็จแล้ว แต่ไม่ผ่านความร้อนก่อนบริโภค เช่น ยำ ส้มตำ สลัด
ต้องเลือกที่สดใหม่และสะอาด อาหารที่กินไม่หมด
หากต้องการเก็บไว้รับประทานในมื้อต่อไป ควรเก็บในตู้เย็น เมื่อจะรับประทานต้องอุ่นให้ร้อนจัดเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ
อาหารหรือขนมค้างคืนที่ผสมกะทิ เป็นต้น อาการโดยทั่วไป หากไม่รุนแรงมักจะหายได้เองภายใน
1-2 วัน บางชนิดอาจนานถึงสัปดาห์ สำหรับการดูแลตนเองเมื่อเกิดอาหารเป็นพิษ
หากมีอาการท้องเดินทั่ว ๆ ไป ให้ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่
ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่ายอุจจาระ
เพราะการขับถ่ายคือกลไกธรรมชาติของร่างกายในการขับของเสีย
ถ้าท้องเสียหรืออาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง หรือมีอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก
หมดสติ หรือสงสัยว่าอาจเกิดจากสารพิษอื่น ๆ และอาการไม่ทุเลาภายใน 2 วัน
ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ
ที่จำเป็นต้องให้การรักษาด้วยยาต่าง ๆ เพิ่มเติมโดยการป้องกันการเกิดอาหารเป็นพิษ
มีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวในช่วงฤดูร้อน ดังนี้ 1.
ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารหลังการขับถ่าย และหลังกิจกรรม 2.
ดื่มน้ำสะอาด 3.
กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ 4.
ผักสดและผลไม้ควรล้างให้สะอาดก่อนรับประทาน 5.
เนื้อสด ไม่ควรทิ้งไว้นอกตู้เย็นนาน ๆ เพราะอุณหภูมิที่ร้อนจะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น
ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ และดูแลตนเองด้วยการปฏิบัติตามข้อแนะนำดังกล่าว
ก็จะช่วยลดปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนได้ แหล่งข้อมูล
:
อาหารเป็นพิษ (โรงพยาบาลราชวิถี)
ภาวะโรคร้อน..ซ่อนโรคร้าย (คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)